4 วิธี ทำยังไงเมื่อคุณ ตกเครื่อง!

Last updated: 19 ก.พ. 2568  |  439 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำยังไงเมื่อคุณ ตกเครื่อง

ตกเครื่องแล้ว ต้องทำยังไง ?

  1. เช็คสถานะเที่ยวบินให้ดี
    เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองกำลังจะตกเครื่อง อย่าเพิ่งตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ก่อนอื่นคุณต้องเข้าแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ของสายการบินนั้น ๆ เพื่อเช็คสถานะเที่ยวบินก่อนว่าเครื่องออกไปแล้วใช่หรือไม่ 
    หากคุณเดินทางถึงสนามบินแล้ว ลองไปเช็คดูที่ Departures Board หรือจอแสดงสถานะเที่ยวบินก่อน โดยดูที่สถานะการบิน หากเคาวน์เตอร์ปิดแล้ว (สีแดง) นั่นคือคุณตกเครื่องแล้วล่ะค่ะ

    2. ติดต่อสายการบินทันที
    วิธีที่รวดเร็วที่สุดและแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุดเมื่อคุณตกเครื่อง คือการติดต่อสายการบินโดยตรง ผ่านการโทรหรือไปที่เคาวน์เตอร์ของสายการบินที่คุณใช้บริการ โดยบอกรายละเอียดเที่ยวบินและแจ้งว่าจะตกเครื่อง สายการบินจะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือและแนะนำขั้นตอนต่อไปเองค่ะ

    3. ตรวจสอบนโยบายของสายการบิน
    หากคุณตกเครื่องแล้ว ให้ถามพนักงานหรือตรวจสอบข้อมูลการช่วยเหลือเมื่อตกเครื่องของแต่ละสายการบิน ซึ่งจะมีหลายปัจจัยที่สายการบินจะพิจารณา
  • สาเหตุที่ทำให้ตกเครื่อง หากเป็นเหตุสุดวิสัยจริง จากสภาพอากาศหรือความล่าช้าของเที่ยวบินก่อนหน้า (ในกรณีต้องต่อเครื่อง) สายการบินมักจะให้ความช่วยเหลือมากกว่ากรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้โดยสารเอง
  • ประเภทของตั๋วเครื่องบิน เช่น ตั๋วโปรโมชั่นกับตั๋วชั้นธุรกิจ ก็จะมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน
  • ความพร้อมของเที่ยวบิน หากตรวจสอบแล้วทางสายการบินมีเที่ยวบินถัดไปให้บริการอยู่แล้ว โดยส่วนมากสายการบินจะพยายามหาที่นั่งให้ผู้โดยสารที่ตกเครื่องให้ได้

 

ยกตัวอย่าง

หากคุณตกเครื่อง Air Asia

ในกรณีตกเครื่อง มาไม่ทันเช็คอิน - ต้องซื้อตั๋วเดินทางใหม่ เพราะไม่มีบริการคืนเงินให้แก่ผู้โดยสาร 

ในกรณีไปต่อเครื่องไม่ทัน - สายการบินจะย้ายที่นั่งไปยังเที่ยวบินถัดไปที่คุณเลือกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อ้างอิง : support.airasia.com

หากคุณตกเครื่อง Vietjet

สามารถเปลี่ยนแปลงวันและเวลาเดินทางได้ โดยอาจมีค่าธรรมเนียมและค่าส่วนต่างของประเภทบัตรโดยสารตามเงื่อนไขที่แตกต่างกัน 

อ้างอิง : th.vietjetair.com/th

4. ลองพิจารณาตัวเลือกอื่น ๆ
หากสายการบินไม่มีนโยบายช่วยเหลือที่ทันท่วงที หรือไม่มีเที่ยวบินถัดไปที่เหมาะสม คุณอาจต้องหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีเดินทางอื่น เช่น

  • ซื้อตั๋วเดินทางใหม่ - หากคุณต้องเดินทางเร่งด่วน อย่างต้องไปร่วมงานสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณคงต้องซื้อตั๋วใหม่ในเที่ยวบินถัดไป แม้ว่าราคาของตั๋วจะมีค่าใช้จ่ายสูงก็ตาม
  • เดินทางด้วยวิธีอื่นแทน - เส้นทางภายในประเทศหรือจังหวัดใกล้ ๆ คุณอาจลองหาตั๋วรถไฟ รถบัส หรือเช่ารถขับไปแทน 

เช็คให้ดีก่อนเดินทางกันตกเครื่อง

  1. ตรวจเช็คข้อมูลการเดินทางให้พร้อม
    แน่นอนว่าการเตรียมตัวก่อนเดินทางสำคัญที่สุด คุณจึงควรเช็คข้อมูลทุกอย่างให้ครบถ้วนตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่รีบร้อน ทั้งวันและเวลาเดินทาง เกตขึ้นเครื่อง สนามบินที่ไป เอกสารที่ต้องยื่น พาสปอร์ต หรือแม้แต่พวกใบจองที่พักหรือค่าเงินสกุลต่างประเทศ ก็แลกไว้ให้เรียบร้อยด้วยนะ
  2. มาถึงสนามบินก่อนเวลา
    การมาถึงก่อนเวลามากพอจะช่วยลดความเครียดและป้องกันปัญหาได้ดี เราแนะนำให้มาถึงสนามบินก่อนเวลาเครื่องออก 1-2 ชั่วโมง หากบินภายในประเทศ และหากเป็นเที่ยวบินต่างประเทศควรมาถึงสนามบินก่อนเวลาเครื่องออก 2-3 ชั่วโมง
    และถ้าคุณต้องไปขึ้นเครื่องในสนามบินที่ไม่คุ้นหรือต้องเดินทางในช่วงเทศกาลที่ผู้คนแออัดมาก อาจจะเผื่อเวลาเพิ่มเป็น 3 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณมีเวลาพอสำหรับการเช็กอินและผ่านจุดตรวจได้ทันเวลา
  3. เช็คอินออนไลน์ล่วงหน้า
    หลายสายการบินเปิดให้ผู้โดยสารสามารถเข้าเช็กอินล่วงหน้าด้วยตัวเองผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ก่อนเวลาเดินทาง ไม่ต้องไปยืนรอต่อคิวที่เคาน์เตอร์ ทำให้ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากของขั้นตอนไปได้เยอะเลยล่ะ

การตกเครื่องอาจไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ถ้าเกิดขึ้นกับตัวคุณแล้ว สิ่งที่ต้องมีคือสติและค่อยๆ ทำตามทีละขั้นตอนทันที เพื่อให้สายการบินได้มีเวลาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับคุณได้อย่างดีที่สุด ทางที่ดี คุณควรเตรียมการให้ดีในทุกสเต็ปก่อนจะออกเดินทางในแต่ละครั้ง เพื่อลดการเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะตามมา ให้คุณเดินทางได้อย่างราบรื่นและไม่ต้องกังวลว่าจะตกเครื่องด้วย หากคุณต้องการกระเป๋าดีๆ ใช้งานทนทานต้อง https://www.baggage-luggage.com/ รับประกันคุณภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้